วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุปสมบท

อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธ ใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรมอุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมาก ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจะถือเป็นประเพณีเลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย

        ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 พระพุทธเจ้าระบุว่าบุคคลดังต่อไปนี้ มิให้อุปสมบท ได้แก่

บุคคลที่ห้ามบวช

1.บัณเฑาะก์
2.คนลักเพศ (บวชตนเอง)
3.ผู้นับถือศาสนาอื่น
4.สัตว์เดรัจฉาน
5.ผู้ทำมาตุฆาต
6.ผู้ทำปิตุฆาต
7.ผู้ฆ่าพระอรหันต์
8.ผู้ข่มขืนภิกษุณี
9.ผู้ทำสังฆเภท
10.ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
11.คนสองเพศ
บุคคล 11 จำพวกนี้ ทรงห้ามมิให้อุปสมบท ที่อุปสมบทไปแล้วก็ให้สึกเสีย
ประเภท
1.เอหิภิกขุอุปสัมปทาการอุปสมบทที่กล่าวคำว่าท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด เป็นการอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าบวชให้โดยพระองค์เอง
2.ติสรณคมนูปสัมปทาการอุปสมบทที่ผู้บวชกล่าวว่าพระรัตนตรัยเป็นที่พึง ที่รำลึก เป็นการอุปสมบทโดยพระเถระที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งอนุญาตแทนพระองค์(เกิดจากการลำบากในการเดินทางมาทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทให้)
3.ญัตติจตุตถกรรมวาจาการอุปสมบทด้วยการเห็นชอบของสงฆ์ ตามพระบรมพุทธานุญาติ ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ (เกิดจากการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้สงฆ์เป็นผู้ตัดสินใจในการให้อนุญาตกุลบุตรผู้มาขออุปสมบท)
มีการอุปสมบทที่พิเศษแตกต่างไปจากนี้ เช่น การประทานโอวาท ๓ ประการแก่พระมหากัสสปะ การให้อุปสมบทด้วยการประทานครุธรรม๘ประการ แก่พระนางกีสาโคตมี และทรงเปลี่ยนให้การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทา ให้เป็นรูปแบบการบวชของสามเณร สามเณรี สิกขมานา แทน
ส่วนคำว่า บรรพชา ซึ่งหมายถึงการบวชเป็นสามเณรสามเณรี สิกขมานา แม่ชี และพราหมณ์ (ผู้ถืออุโบสถศีล) ส่วนอาชีวัฏฐมกศีลแม้บางคนอาจถือแล้วนุ่งขาวปฏิบัติธรรม แต่จะไม่ใช่การบรรพชาแต่เป็นเพียงการรับศีลที่สูงกว่าปัญจศีลเท่านั้น


พิธีอุปสมบท

พิธีอุปสมบท ลำดับขั้นตอนในการอุปสมบท
 

 
อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา
 
     การบวช คือการยกฐานะจากผู้นับถือพระรัตนตรัย ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยเป็นหนทางสู่พระนิพพานการบวชเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก กว่าจะมีการ บวช ต้องถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบหลายประการ  ผู้บวชจะต้องเป็นสัมมาทิฎฐิ, ผู้บวชจะต้องเกิดเป็นมนุษย์ไม่พิการและเป็นชายเท่านั้น การบวชนั้นมีอานิสงส์มาก  บุคคลใดได้อุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ 64 กัป บิดามารดาได้อานิสงส์ 32 กัป บุคคลใดได้บรรพชาบุตรของตนก็ดีบุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ

    อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา
 
     อุปสมบท ปัจจุบันใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม หรือ อุปสัมปทา คู่กับคำว่า บรรพชา ซึ่งหมายถึงการบวชเป็นสามเณร
 
     อุปสมบท เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมาก ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา 
 
     บวช หมายถึงการถือเพศเป็นนักบวช เช่น เป็นภิกษุ เป็นสามเณร เป็นฤๅษีชีไพร นัยว่ามาจากคำว่า บรรพชา
 
     บวช แปลกันว่า งดเว้นจากการทำชั่วต่างๆ ด้วยการสละโลกีย์ทิ้งเหย้าเรือนไปถือเพศเป็นนักบวช เป็นสมณะ เป็นภิกษุสามเณร เป็นต้น เพื่อขัดเกลากิเลสและเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ในปัจจุบัน การสละเหย้าเรือนไปถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในระยะยาวบ้าง ชั่วคราวบ้างก็นิยมเรียกว่า บวช เช่นบวชชี บวชชีพราหมณ์ บวชเนกขัมมะ
 
     บรรพชา แปลว่า การงดเว้นจากความชั่ว หมายถึงการบวชเป็นนักบวช
 
     บรรพชา เดิมใช้หมายถึงการบวชเป็นนักบวชทั่วไป เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา สาวกบรรพชา และเรียกนักบวชเช่นนั้นว่า บรรพชิต แต่ ในสมัยปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชเป็นพระภิกษุว่า อุปสมบท

     ความจริงการบวชเป็นพระภิกษุนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงอุปสมบท ดังนั้น จึงเรียกรวมกันว่า บรรพชาอุปสมบท
 
ลำดับขั้นตอนการบรรพชาอุปสมบท
 



พิธีอุปสทบท ก่อนอุปสมบทจะต้องบรรพชาก่อน


๑. คำวันทาสีมา และคำวันทาพระประธาน
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า )
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
( กราบ ๑ ครั้ง ประนมมือ กล่าวว่า )
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
( กราบ ๑ ครั้ง ยืนขึ้นประนมมือ กล่าวว่า )
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง )
พิธีบรรพชาอุปสมบทหมู่
ภาพพิธีบรรพชาในโครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย
๒. คำขอบรรพชา
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อนุโมทามิ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต.
( นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า )
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
( สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,
นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตวา,
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ. ) กล่าว ๓ จบ
( สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,
นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง ทัตวา,
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ. ) กล่าว ๓ จบ
๓. มูลกัมมัฏฐาน
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
พิธีอุปสมบทอุทิศชีวิต
พิธีอุปสมบทอุทิศชีวิตในวันวิสาขบูชา ณ อุโบสถ วัดพระธรรมกาย
๔. คำขอสรณคมน์และศีล
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย ให้นาคกล่าวตาม
( นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ )
กล่าว ๓ จบ
พระอาจารย์กล่าวว่า “ยะมะหัง วะทามิตัง วะเทหิ”
ให้นาครับว่า “อามะ ภันเต”
จากนั้น พระอาจารย์ จะให้ สรณคมน์ และศีล
ให้นาคกล่าวตามดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
พระอาจารย์กล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”
ให้นาครับว่า “อามะ ภันเต”
พิธีอุปสมบทต้องกระทำที่อุโบสถ
พิธีการอุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง
พระอาจารย์จะกล่าวนำศีล ๑๐ ให้กล่าวตามทีละบท
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๔. มุสาวาทา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๕. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๗. นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๘. มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ
วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๙. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๑๐. ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
( อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ )
กล่าว ๓ จบ แล้วกราบ ๓ ครั้ง
๕. คำขอนิสัย
อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
( อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ) กล่าว ๓ จบ
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณรกล่าวรับว่า
ปะฏิรูปัง สาธุ ภันเต
โอปายิกัง สาธุ ภันเต
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทถะ สาธุ ภันเต
เมื่อกล่าวรับจบ ให้สามเณรกล่าวต่อไปว่า
( อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร )
กล่าว ๓ จบ แล้วกราบ ๓ ครั้ง
พิธีอุปสมบท
อุปสมบทหมายถึงการบวชต่อจากการเป็นสามเณร
๖. คำบอกบริขาร
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณรกล่าวรับว่า
อะยันเต ปัตโต อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโฆ อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก อามะ ภันเต
๗. คำถามอันตรายิกธรรม
พระคู่สวดถาม สามเณรตอบ
กุฏฐัง นัตถิ ภันเต
คัณโฑ นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต
ภุชสิ โสสิ๊ อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต
นะสิ๊ราชะภะโฏ อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ อะหัง ภันเต ...(๑)...นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัสมา....(๒)....นามะ
(๑) บอกฉายาของตนเอง (๒) บอกฉายาของพระอุปัชฌาย์
   การบวช คือการยกฐานะจากผู้นับถือพระรัตนตรัย ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย
   การบวชคือการยกฐานะจากผู้นับถือพระรัตนตรัย ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย
๘. คำขออุปสมบท
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
๙. คำขอขมา
อุกาสะ, ดังข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอวโรกาส,
กราบลาพ่อแม่ญาติพี่น้อง, ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย,
เพื่อบรรพชาอุปสมบท ณ บัดนี้,
ตลอดระยะเวลา, ที่ต่างต้องเวียนว่ายตายเกิด,
ถือกำเนิดในวัฏฏสงสาร, หากข้าพเจ้าทั้งหลาย,
ได้ประพฤติผิดพลาดล่วงเกิน, ต่อท่านทั้งหลาย,
ในที่ต่อหน้าก็ดี, ในที่ลับหลังก็ดี,
ทั้งมีเจตนาก็ดี, ทั้งไม่มีเจตนาก็ดี,
ที่ระลึกได้ก็ดี, ที่ระลึกไม่ได้ก็ดี,
นับตั้งแต่ร้อยชาติพันชาติ, หมื่นชาติแสนชาติก็ดี,
ทั้งในปัจจุบันชาติก็ดี, ขอท่านทั้งหลาย,
โปรดอโหสิกรรม, งดความผิดทั้งหลายเหล่านั้น,
ให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ผู้จะบรรพชาอุปสมบทในบัดนี้,
เพื่อความบริสุทธิ์, เพื่อความบริบูรณ์,
เพื่อความอยู่เป็นสุขในพรหมจรรย์, และเพื่อประโยชน์,
แก่การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ของข้าพเจ้าทั้งหลาย,
ในปัจจุบันชาตินี้ เทอญ ฯ
พิธีอุปสมบท ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด เป็นชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุธรรมมากกว่าชีวิตทางโลก
        ในฤดูเข้าพรรษาจึงมีประเพณีที่สืบเนื่องมาแต่โบราณที่ชายไทยทั้งหลายต่างนิยมอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อศึกษาและฝึกฝนอบรมตนเอง
     ชีวิตสมณะเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เป็นชีวิตที่สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงความบริสุทธิ์ในตนยิ่งๆ ขึ้นไปได้ และยังเป็นชีวิตที่เป็นไปเพื่อตนเองที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้ดังที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้เคยกล่าวไว้ว่า
     “เพราะเราเล็งเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสมีสุขน้อย  มีทุกข์มาก มีปัญหา ร้อยแปด ถ้าเราอยู่ทางโลกจะแสวงหาหนทางไปนิพพานก็ยาก เพราะมีเครื่องกังวลมาก ทำให้ขาดเวลาและอารมณ์ในการปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงพ่อมองว่า การปฏิบัติธรรมเป็นกรณียกิจ คือ กิจที่เราจะต้องทำอย่างแท้จริง เป็นงานที่แท้จริงของเรา เพื่อแสวงหาหนทางพระนิพพาน เราจึงได้สละทิ้งทุกอย่างมาบวช”
และพระเดชพระคุณหลวงพ่อยังกล่าวอีกว่า
     “ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด เป็นชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุธรรมมากกว่าชีวิตทางโลก เพราะปลอดจากเครื่องกังวลต่างๆ ทางโลก จึงมีเวลาทำความเพียรมากกว่าฆราวาส และได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีหมู่คณะที่คิด พูด และทำเหมือนกัน มีเป้าหมายที่จะไปนิพพานเหมือนกัน”
     บุญจากการบวชมีอานิสงส์มากจะนับจะประมาณมิได้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า “ถึงแม้จะมีผู้วิเศษเก็บดอกไม้จนหมดป่าหิมพานต์ แล้วนำมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้ง 1,000 พระองค์ กระทำดังนี้ทุกวัน ผลบุญ จากการบูชานั้น ก็ไม่เท่าผลบุญจากการบวชในพระพุทธศาสนา” (ที่มา : “การบวชในพระพุทธศาสนา” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

สุดท้ายนี้ ทางทีมงานได้มีคลิปจากการลงภาคปฏิบัติ การสอบถามข้อมูล การอุปสมบท
http://www.youtube.com/watch?v=FA9-q49UiNE&edit=vd